หลักฐานเชิงประจักษ์ของการใช้มะขามป้อมทางการแพทย์

Main Article Content

ภูรดา บูรณ์เจริญ
พุทธิดา เทพนรรัตน์
ประวิทย์ อัครเสรีนนท์

บทคัดย่อ

มะขามป้อม เป็นสมุนไพรที่มีการใช้ในประเทศแถบเอเชียในการรักษาโรค มีการบันทึกไว้ในองค์ความรู้ทางการแพทย์อายุรเวทและการแพทย์แผนไทยที่ใช้ในตำรับยาแก้ไอมาอย่างยาวนาน  ได้ถูกพัฒนาเป็นยาหรือผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และมีการอ้างถึงประโยชน์ต่อสุขภาพ ซึ่งยังไม่มีบทความที่กล่าวถึงการใช้ในทางการแพทย์แผนไทย และหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องมาก่อน วัตถุประสงค์ของบทความนี้ เพื่อรวบรวมและประเมินหลักฐานเชิงประจักษ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้มะขามป้อมในทางการแพทย์ และการใช้รักษาและป้องกันโรค COVID-19 เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจใช้สมุนไพรนี้ในการดูแลสุขภาพอย่างสมเหตุสมผล โดยสืบค้นจากตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สังเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1 จากนั้นสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ของการใช้มะขามป้อมตามสรรพคุณของตัวยาที่มีระบุไว้ในตำราดังกล่าวในฐานข้อมูล PubMed, Web of science, ScienceDirect, SpringerLink, ThaiJO และ Google Scholar พบว่า 11 จาก 13 คัมภีร์มีตำรับยาที่มีมะขามป้อมเป็นเครื่องยา 164 ตำรับ คัมภีร์ประถมจินดาพบตำรับยาเข้ามะขามป้อมมากที่สุด (32 ตำรับ) คัมภีร์ธาตุวิวรณ์ (31 ตำรับ) และคัมภีร์สรรพคุณยา (24 ตำรับ) และหลักฐานที่เกี่ยวกับการแก้ไอ เจ็บคอ แก้ท้องผูก แก้ไข้และแก้ปวด และการรักษาหรือป้องกันโรค COVID-19 ทั้งหมด 11 ชิ้น  จากการศึกษานี้สรุปได้ว่า มะขามป้อมสามารถใช้เป็นทางเลือกในการบรรเทาอาการไอได้ ส่วนการบรรเทาอาการเจ็บคอนั้นควรใช้เป็นยาตำรับ และยังไม่แนะนำให้ใช้เป็นยาเดี่ยวในการแก้ท้องผูก แก้ไข้ แก้ปวด และสำหรับการใช้ร่วมในการรักษาโรค COVID-19 ต้องมีการศึกษาเพิ่มเติมทางคลินิกต่อไป

Article Details

บท
บทความทั่วไป
Author Biography

พุทธิดา เทพนรรัตน์, สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กรุงเทพมหานคร

References

Gangal N, Nagle V, Pawar Y, Dasgupta S. Reconsidering Traditional Medicinal Plants to Combat COVID-19. AIJR Preprints. 2020;34:1-6.

Chikhale RV, Sinha SK, Khanal P, Gurav NS, Ayyanar M, Prasad SK, Wanjari MM, Patil RB, Gurav SS. Computational and network pharmacology studies of Phyllanthus emblica to tackle SARS-CoV-2. Phytomedicine Plus. 2021 Aug 1;1(3):100095.

Murugesan S, Kottekad S, Crasta I, Sreevathsan S, Usharani D, Perumal MK, Mudliar SN. Targeting COVID-19 (SARS-CoV-2) main protease through active phytocompounds of ayurvedic medicinal plants–Emblica officinalis (Amla), Phyllanthus niruri Linn.(Bhumi Amla) and Tinospora cordifolia (Giloy)–A molecular docking and simulation study. Computers in Biology and Medicine. 2021 Sep 1;136:104683.

Pooma R, Suddee S, editors. Thai plant names Tem Smitinand revised edition 2014. Bangkok: Office of the Forest Herbarium, Department of National Park, Wildlife and Plant Conservation; 2014.

ชยันต์ พิเชียรสุนทร, แม้นมาส ชวลิต, วิเชียร จีรวงส์. คําอธิบายตําราพระโอสถพระนารายณ์ฉบับเฉลิมพระเกียรติ 72 พรรษามหาราชา 5 ธันวาคม พ.ศ.2542. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์อมรินทร์ และมูลนิธิภูมิปัญญา; 2548. หน้า 530-532.

พร้อมจิต ศรลัมพ์, วงศ์สถิตย์ ฉั่วกุล, สมภพ ประธานธุรารักษ์. สมุนไพรสวนสิรีรุกขชาติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง; 2543. หน้า 141.

ฐานข้อมูลสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. มะขามป้อม [อินเทอร์เน็ต]. 2554. [เข้าถึงเมื่อ 10 มีนาคม 2564]. เข้าถึงได้จาก: http://www.phargarden.com/main.php?action=viewpage&pid=258

Jaijoy K, Soonthornchareonnon N, Panthong A, Sireeratawong S. Anti-inflammatory and analgesic activities of the water extract from the fruit of Phyllanthus emblica Linn. International Journal of Applied Research in Natural Products. 2010;3(2):28-35.

Poltanov EA, Shikov AN, Dorman HD, Pozharitskaya ON, Makarov VG, Tikhonov VP, et al. Chemical and antioxidant evaluation of Indian gooseberry (Emblica officinalis Gaertn., syn. Phyllanthus emblica L.) supplements. Phytotherapy Research: An International Journal Devoted to Pharmacological and Toxicological Evaluation of Natural Product Derivatives. 2009;23(9):1309-15.

Saini R, Sharma N, Oladeji OS, Sourirajan A, Dev K, Zengin G, et al. Traditional uses, bioactive composition, pharmacology, and toxicology of Phyllanthus emblica fruits: A comprehensive review. Journal of ethnopharmacology. 2022;282:114570.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม, โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์. คัมภีร์สรรพคุณยา. ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่๑ ฉบับชำระ พ.ศ.๒๕๕๐. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; พ.ศ. 2550. หน้า 385.

มูลนิธิฟื้นฟูส่งเสริมการแพทย์ไทยเดิม, โรงเรียนอายุรเวทธำรง สถานการแพทย์แผนไทยประยุกต์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. ตำราการแพทย์ไทยเดิม (แพทยศาสตร์สงเคราะห์ ฉบับอนุรักษ์) เล่มที่ 1 ฉบับชำระ พ.ศ.๒๕๕๐. กรุงเทพฯ: ศุภวนิชการพิมพ์; พ.ศ. 2550.

คณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ. ประกาศคณะกรรมการพัฒนาระบบยาแห่งชาติ เรื่องบัญชียาหลักแห่งชาติ (มกราคม พ.ศ. 2561). พ.ศ. 2561.

OCEBM Levels of Evidence Working Group. The Oxford 2011 Levels of Evidence [Internet].2016 [cited 2022 Mar 26]. Available from: https://www. cebm.ox.ac.uk/resources/levels-of-evidence/ocebm-levels-of-evidence.

Lumlerdkij N, Mamak C, Duangdamrong J, Phayakkhawisai T, Trakoolsilp B, Jamparngernthaweesri K, et al. Evaluation of Evidence Related to Medical Uses and Health Claims of Fingerroot. Siriraj Medical Bulletin. 2021;14(2).

Nosalova G, Mokry J, Tareq Hassan KM. Antitussive activity of the fruit extract of Emblica officinalis Gaertn. (Euphorbiaceae). Phytomedicine. 2003; 10:583-589.

Boonfueang W, Sriprasart T. Suppression of cough by Emblica officinalis extract, dextromethorphan versus placebo during endobronchial ultrasound bronchoscopy: a randomized double blind, double dummy, placebo-controlled trial. Eur Respiratory Soc; 2021.

Varnasseri M, Siahpoush A, Nejad KH, Amini F, Karamian M, Yad MJY, et al. The effects of add-on therapy of Phyllanthus Emblica (Amla) on laboratory confirmed COVID-19 Cases: A randomized, double-blind, controlled trial. Complementary Therapies in Medicine. 2022:102808.

Homvisatewongsa Y. Effectiveness of Indian Gooseberry Cough Pastilles in Reducing Sore Throat and Hoarseness after Endotracheal Intubation during General Anesthesia. Journal of Health Science. 2014:75-82.

Mehmood MH, Rehman A, Rehman NU, Gilani AH. Studies on prokinetic, laxative and spasmodic activities of Phyllanthus emblica in experimental animals. Phytother Res. 2013 Jul;27(7):1054-60. doi: 10.1002/ptr.4821. Epub 2012 Sep 12. PMID: 22972571.

Perianayagam JB, Sharma SK, Joseph A, Christina AJ. Evaluation of anti-pyretic and analgesic activity of Emblica officinalis Gaertn. J Ethnopharmacol. 2004;95(1):83-5.

Lim DW, Kim JG, Kim YT. Analgesic Effect of Indian Gooseberry (Emblica officinalis Fruit) Extracts on Postoperative and Neuropathic Pain in Rats. Nutrients. 2016;8(12).

Muthuraman A, Sood S, Singla SK. The antiinflammatory potential of phenolic compounds from Emblica officinalis L. in rat. Inflammopharmacology. 2011;19(6):327-34.

Gopal SG. A preliminary report on plant based immunity against SARS-CoV-2 (COVID-19) in pandemic 2020. Research Journal of Biotechnology Vol. 2020;15:10.

Brahmbhatt R. Herbal medicines in management and prevention of COVID-19. Journal of Pharmacognosy and Phytotherapy. 2020;9:1221-3.

Wu C, Liu Y, Yang Y, Zhang P, Zhong W, Wang Y, et al. Analysis of therapeutic targets for SARS-CoV-2 and discovery of potential drugs by computational methods. Acta Pharmaceutica Sinica B. 2020;10(5):766-88.

Jantan I, Haque M, Ilangkovan M, Arshad L. An insight into the modulatory effects and mechanisms of action of phyllanthus species and their bioactive metabolites on the immune system. Frontiers in pharmacology. 2019:878.

Bakhru HK. Healing through natural foods: Jaico Publishing House; 2000.

Rangnekar H, Patankar S, Suryawanshi K, Soni P. Safety and efficacy of herbal extracts to restore respiratory health and improve innate immunity in COVID-19 positive patients with mild to moderate severity: A structured summary of a study protocol for a randomised controlled trial. Trials. 2020;21(1):1-3

Jaijoy K, Soonthornchareonnon N, Lertprasertsuke N, Panthong A, Sireeratawong S. Acute and chronic oral toxicity of standardized water extract from the fruit of Phyllanthus emblica Linn. International Journal of Applied Research in Natural Products. 2010;3(1):48-58.